คอร์สอบรม Autodesk Revit สำหรับการสร้างโมเดลงานระบบไฟฟ้าอาคารขนาดใหญ่

ELE-01 : Autodesk Revit Electrical Modeling for Building Project Training Course

คอร์สเรียน Autodesk Revit งานระบบไฟฟ้า อาคารขนาดใหญ่

เนื้อหาหลักในคอร์สเรียนนี้

ผู้เข้าอบรมจะได้ฝึกฝนทักษะการใช้งานคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโมเดลงานระบบไฟฟ้า ตั้งแต่การนำเข้าไฟล์โมเดลงานสถาปัตย์, โมเดลงานโครงสร้างและไฟล์งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาการเชื่อมโยงค่าพิกัดอาคารระหว่างไฟการสร้างโมเดลงานระบบไฟฟ้าเช่น การสร้างโมเดลระบบเมนไฟฟ้าเข้าโครงการ (Main Incoming) การสร้างโมเดลระบบไฟฟ้าในห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Room) การสร้างโมเดลระบบไฟฟ้าในห้องไฟฟ้าหลัก (MDB Room) การสร้างโมเดลอุปกรณ์ไฟฟ้าส่องสว่าง (Lighting Fixture) การสร้างโมเดลระบบไฟฟ้าในห้องพักอาศัย เป็นต้น

วัตถุประสงค์ 
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะการสร้างโมเดลงานระบบไฟฟ้าจากโปรแกรม Autodesk Revit สำหรับงานอาคารขนาดใหญ่และนำไปใช้งานจริงได้อย่างถูกต้อง

คอร์สนี้เหมาะสำหรับ

  • ผู้ที่ใช้งาน Revit อยู่แล้ว 
  • วิศวกร / ผู้ออกแบบ 
  • BIM Modeler 
  • นิสิต นักศึกษา ที่สนใจ

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

  • ผ่านการอบรมคอร์สพื้นฐาน RVT-01 มาก่อน หรือหากมีพื้นฐานการใช้งาน Autodesk Revit อยู่แล้ว สามารถทำแบบทดสอบวัดระดับก่อนเข้าอบรมได้
  • มีประสบการณ์ด้านการทำงานสถาปัตยกรรม
  • สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐานได้
  • ระดับ : เบื้องต้น – ปานกลาง

ค่าอบรม (ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

  • สอนสด 12,000 บาท/คน/คอร์ส (3 วัน) (ราคานี้รวมค่าอบรม ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง ค่าหนังสือ)
  • สอนสดออนไลน์ x,xxx บาท/คน/คอร์ส (3 วัน) (รวมค่าอบรม ค่าหนังสือ)

เนื้อหาในการอบรม

1.การเริ่มต้นสร้างไฟล์สำหรับโมเดลงานระบบไฟฟ้า (ELE)

  • การเลือกใช้ Template File สำหรับงานระบบไฟฟ้า
  • การ Save ไฟล์ และการตั้งชื่อไฟล์
  • การตั้งค่า Project Unit สำหรับงานระบบไฟฟ้า
  • การตั้งค่า Elactrical Setting สำหรับงานไฟฟ้า
  • การตั้งค่า Conduit ใน Electrical Setting สำหรับงานไฟฟ้า

2. การนำเข้าโมเดลงานสถาปัตย์เข้ามาใช้งานในงานระบบไฟฟ้า (ELE)

  • การแบ่งไฟล์ในการทำงาน (File Mapping)
  • การจัดการ Link model Type (Overlay/Attach)
  • การตรวจสอบไฟล์งานสถาปัตย์ก่อน Link
  • การสร้างไฟล์งานโครงสร้างและตั้งชื่อไฟล์ (File Naming)

3. การสร้างมุมมองและนำเข้าข้อมูลสำหรับโมเดลระบบไฟฟ้า (ELE)

  • การสร้างแปลนพื้น (Floor Plan) โดยอ้างอิงระดับชั้นจากงานสถาปัตย์
  • การสร้างแปลนฝ้าเพดาน (Ceiling Plan) โดยอ้างอิงระดับชั้นจากงานสถาปัตย์
  • การจัดเรียงรายการมุมมอง (View) ในหน้าต่าง Project Browser
  • การมุมมองรูปด้าน รูปตัด แบบขยาย สำหรับการสร้างโมเดลงานระบบไฟฟ้า
  • การตั้งค่าการแสดงผล ความละเอียด และระดับการมองเห็นของแต่ละมุมมอง
  • การนำเข้าไฟล์ AutoCAD (.dwg) โดยวิธี Link CAD
  • การนำเข้าไฟล์ AutoCAD (.dwg) โดยวิธี Import CAD
  • การนำเข้า family ของอุปกรณ์เข้ามาในโมเดลงานระบบไฟฟ้า

4.การตั้งค่าชนิดรางไฟฟ้า (Cable Tray Type) และชนิดท่อร้อยสายไฟ (Conduit Type)

  • การสร้างชนิดรางไฟฟ้า (Cable Tray Type) และการเลือก Fitting
  • การสร้างชนิดรางไฟฟ้า (Conduit Type) และการเลือก Fitting
  • การใช้คำสั่งพื้นฐานของงานไฟฟ้าในการสร้างโมเดลรางไฟฟ้าและท่อร้อยสายไฟ
  • การแก้ไข Fitting ของรางไฟฟ้าและท่อร้อยสายไฟแต่ละชนิดใน Type Properties
  • การใช้คำสั่ง Re-apply Type ในการแก้ไขชนิดรางไฟฟ้าและท่อร้อยสายไฟ
  • การใช้คำสั่ง Change Type ในการแก้ไขชนิดรางไฟฟ้าและท่อร้อยสายไฟ
  • การถ่ายโอนข้อมูล Cable Tray Type และ Conduit Type โดยใช้คำสั่ง Transfer Project Standard

5.การสร้างโมเดลระบบไฟฟ้าในห้องไฟฟ้าหลัก (MDB)

  • การนำเข้าไฟล์ AutoCAD (.dwg) มาใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งอุปกรณ์และแนวรางไฟฟ้า
  • การนำเข้าและจัดวางโมเดลหม้อแปลง, ตู้ไฟฟ้า MDB, EMDB และอุปกรณ์อื่น ๆ ในห้องเครื่อง MDB
  • การสร้างโมเดลฐานคอนกรีตสำหรับตู้ไฟฟ้า
  • การสร้างโมเดลรางไฟฟ้า (Cable Tray) จากตู้ไฟฟ้าไปยังช่องเปิดงานไฟฟ้า (Shaft Opening) ภายในห้อง MDB
  • การจัดวางอุปกรณ์ Support Hanger สำหรับยึดรางไฟฟ้า (Cable Tray)

6.การสร้างโมเดลระบบไฟฟ้าในห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Room)

  • การนำเข้าและจัดวางโมเดล Generator, Control Panel และ Fuel Day Tank
  • การสร้างโมเดลรางไฟฟ้า (Cable Tray) จาก GCP ไปยัง EMDB
  • การจัดวางอุปกรณ์ Support Hanger สำหรับยึดรางไฟฟ้า (Cable Tray)

7.การสร้างโมเดลระบบเมนไฟฟ้าเข้าโครงการ (Main Incoming)

  • การนำเข้าไฟล์ AutoCAD (.dwg) มาใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งอุปกรณ์และแนวท่อไฟฟ้า
  • การนำเข้าและจัดวางโมเดล Ring Main Unit (RMU) และ Main Incoming Manhole
  • การสร้างโมเดลท่อร้อยสายไฟจากภายนอกเข้ามายังห้อง RMU
  • การสร้างโมเดล Duct Bank

8.การสร้างโมเดลไฟส่องสว่างชั้นจอดรถ

  • การนำเข้าไฟล์ AutoCAD (.dwg) มาใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งอุปกรณ์และแนวท่อไฟฟ้า
  • การนำเข้าและจัดวางโมเดลอุปกรณ์โคมไฟ สวิตซ์ และตู้ Load Panel
  • การกำหนด Switch ID
  • การสร้างวงจรไฟส่องสว่างให้กับอุปกรณ์โคมไฟและสวิตซ์
  • การเขียนแนว Wiring ในรูปแบบต่าง ๆ
  • การสร้างวงจร (Power Circuit) ของอุปกรณ์โคมไฟเข้ากับตู้ Load Panel
  • การเขียนแนว Wiring ในรูปแบบอัตโนมัติโดยอ้างอิงจากวงจรไฟฟ้าของอุปกรณ์
  • การสร้างตารางโหลด (Panel Schedule) ของตู้ Load Panel

9.การสร้างโมเดลระบบไฟฟ้าในห้องไฟฟ้าประจำชั้น (Electrical room)

  • การนำเข้าไฟล์ AutoCAD (.dwg) มาใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งอุปกรณ์และแนวท่อไฟฟ้า
  • การนำเข้าและจัดวางโมเดลอุปกรณ์โคมไฟ สวิตซ์ และตู้ Load Panel
  • การกำหนด Switch ID
  • การสร้างวงจรไฟส่องสว่างให้กับอุปกรณ์โคมไฟและสวิตซ์
  • การเขียนแนว Wiring ในรูปแบบต่าง ๆ
  • การสร้างวงจร (Power Circuit) ของอุปกรณ์โคมไฟเข้ากับตู้ Load Panel
  • การเขียนแนว Wiring ในรูปแบบอัตโนมัติโดยอ้างอิงจากวงจรไฟฟ้าของอุปกรณ์
  • การสร้างตารางโหลด (Panel Schedule) ของตู้ Load Panel

10.การสร้างโมเดลระบบไฟฟ้าจากห้องไฟฟ้าประจำชั้นไปยังห้องพัก

  • การนำเข้าไฟล์ AutoCAD (.dwg) มาใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งอุปกรณ์และแนวท่อไฟฟ้า
  • การนำเข้าและจัดวางโมเดลตู้ Consumer
  • การเดินท่อร้อยสายไฟ (Conduit) จากอุปกรณ์ด้วยวิธี Draw Conduit From Face
  • การเดินท่อร้อยสายไฟ (Conduit) ในรูปแบบทั่วไป
  • การเดินท่อร้อยสายไฟ (Conduit) โดยใช้คำสั่ง Parallel Conduit
  • การใช้คำสั่ง Trim / Extend เพื่อเชื่อมต่อท่อร้อยสายไฟ (Conduit)

11.การสร้างโมเดลระบบไฟฟ้าในห้องพัก

  • การนำเข้าไฟล์ AutoCAD (.dwg) มาใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งอุปกรณ์
  • การนำเข้าและจัดวางโมเดลอุปกรณ์สวิตซ์ อุปกรณ์เต้ารับ อุปกรณ์ระบบสื่อสาร
  • และอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
  • การ Copy / Monitor อุปกรณ์โคมไฟภายในห้องพัก
  • การเดินท่อร้อยสายไฟ (Conduit) ในผนังเพื่อเชื่อมต่อกับสวิตซ์และเต้ารับ
  • การเดินท่อร้อยสายไฟ (Conduit) ภายในห้องพัก
  • การเดินท่อ Flex จาก Junction Box ไปยังอุปกรณ์โคมไฟ
  • การ Copy และ Mirror โมเดลห้องพักที่คล้ายกันทั้งชั้น
  • การ Copy ไปยังชั้น Typical Floor

12.การสร้างโมเดลระบบปไฟส่องสว่าง ไฟฉุกเฉิน และป้ายทางออกฉุกเฉินบริเวณโถงทางเดิน

  • การนำเข้าไฟล์ AutoCAD (.dwg) มาใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งอุปกรณ์และแนวรางไฟฟ้า
  • การนำเข้าและจัดวางโมเดลอุปกรณ์ไฟส่องสว่าง อุปกรณ์ไฟฉุกเฉิน และป้ายทางออกฉุกเฉิน
  • การเดินรางไฟฟ้าบริเวณโถงทางเดิน
  • การวาง Junction Box ที่อุปกรณ์โคมไฟและตามแนวรางไฟฟ้า
  • การเดินท่อร้อยสายไฟ (Conduit) จาก Junction Box ไปยังอุปกรณ์
  • การ Copy ไปยังชั้น Typical Floor

13.การสร้างโมเดลระบบแจ้งเพลิงไหม้และประกาศสาธารณะบริเวณโถงทางเดิน

  • การนำเข้าไฟล์ AutoCAD (.dwg) มาใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งอุปกรณ์ แนวท่อร้อยสายไฟและแนวรางไฟฟ้า
  • การนำเข้าและจัดวางโมเดลอุปกรณ์ Smoke Detector, Manual Pull Station, Telephone Jack และ Alarm Speaker
  • การเดินท่อร้อยสายไฟ (Conduit) และรางไฟฟ้าบริเวณโถงทางเดิน
  • การ Copy ไปยังชั้น Typical Floor

14.การสร้างโมเดลระบบป้องกันฟ้าผ่าและการต่อลงดิน

  • การนำเข้าไฟล์ AutoCAD (.dwg) มาใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งอุปกรณ์และแนวท่อร้อยสายไฟ
  • การนำเข้าและจัดวางโมเดลอุปกรณ์ Earth Pit
  • การเดินท่อร้อยสายไฟ (Conduit) ระบบ Ground

15.การสร้างโมเดลงานไฟฟ้าในรูปแบบ Fabrication

  • การตั้งค่าFabrication Setting สำหรับงานในรูปแบบ Fabrication
  • การเลือกรูปแบบ Fabrication ใน Service Part Browser
  • การจัดวาง Bus Way ในรูปแบบ Fabrication
  • การใช้งานคำสั่ง Smart Snapping
  • การใช้งานคำสั่ง Cut Into
  • การใช้งานคำสั่ง Multi-Point Routing
  • การสร้าง Hanger สำหรับยึด Bus Way แบบ Fabrication กับพื้นโครงสร้าง

16.การตรวจสอบโมเดลงานไฟฟ้า

  • การตรวจสอบการเชื่อมต่อกันของ Cable Tray และ Conduit
  • การตรวจสอบการเชื่อมต่อกันของ Electrical
  • การตรวจสอบ Circuit System

17.การส่งออกไฟล์ (Export)

  • การส่งออกไฟล์ในรูปแบบ PDF File
  • การส่งออกไฟล์ในรูปแบบ DWG เพื่อนำไปใช้ในโปรแกรม AutoCAD
  • การส่งออกไฟล์ในรูปแบบ NWC เพื่อนำไปใช้ในโปรแกรม Navisworks
pmah-01.png

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรการอบรมได้ที่นี่
คุณวาสนา สายสลัย

Training Admin Coordinator

Email : [email protected]
Tel : 02-692-2575

ลิงค์ที่น่าสนใจ
Synergysoft
Autodesk Gold Partner
ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมออโตเดสก์อย่างเป็นทางการในไทย
Synergysoft Online Store
ร้านซอฟต์แวร์ออนไลน์ ชำระด้วยบัตรเครดิตได้
Luvicha
เว็บออนไลน์เทรนนิ่ง เรียนรู้ได้ 24 ชั่วโมง ได้ทุกที่ ทุกเวลา

Synergysoft Education Center fanpage
อัพเดตข่าวสารการอบรม ตารางการอบรมต่างๆ ผ่าน ซินเนอร์จี้ซอฟต์ เอ็ดดูเคชั่น เซนเตอร์ แฟนเพจ

Construction & Design Solution by Synergysoft
แหล่งรวบรวมความรู้ เทคโนโลยี และโซลูชั่นการออกแบบงานอาคารด้วยระบบ BIM งานสถาปัตยกรรม งานโครงสร้างเหล็กและคอนกรีต งานระบบ การก่อสร้าง และคลาวด์โซลูชั่น

Manufacturing Solution by Synergysoft
แหล่งรวบรวมความรู้ เทคโนโลยี และโซลูชั่นการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3 มิติ สำหรับมืออาชีพ งานวิศวกรรม งานเครื่องจักรกล งานเอกสาร และการจำลองผลิตภัณฑ์ 

Synergysoft Education Center

135/58 ชั้น 19 อาคารอมรพันธุ์ 205 ทาวเวอร์ 2 ซ.รัชดาภิเษก7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

Tel : 02-692-2575, 085-323-5453
Fax : 02-6922575
Email : [email protected]

© 2024 Synergysoft Education Center. All Rights Reserved.